รู้เท่าทันเชื้อดื้อยา เพราะใช้ยาแบบผิดๆ ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสำคัญกับปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้หายจากโรคแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประ

9 กรกฎาคม 2567
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

รู้เท่าทันเชื้อดื้อยา เพราะใช้ยาแบบผิดๆ
      ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสำคัญกับปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้หายจากโรคแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ 
      นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยา 20,000-40,000 คนต่อปี ซึ่งเชื้อดื้อยาเกิดจากการพัฒนาตนเองของเชื้อเมื่อเจอยาปฏิชีวนะ สาเหตุเกิดจากการใช้ยามากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ประโยชน์จากยา“หากดื้อยาไม่มาก ต้องเปลี่ยนยาที่มีราคาแพงขึ้นและใช้เวลารักษานานขึ้น อาการป่วยที่มีอาการน้อยก็จะมีอาการป่วยมากขึ้น อาจทำให้กลายเป็นผู้พิการหรือถึงขั้นเสียชีวิต การใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมคือ เมื่อติดเชื้อหายแล้วต้องหยุดยา บางอาการไม่ต้องใช้ยา อาทิ ไข้หวัด อาการปวดบวมอักเสบ ท้องเสีย แผลสด ซึ่งหากร่างกายได้รับยาที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ยาเกินขนาดจะทำให้เกิดอาการดื้อยาโดยไม่จำเป็น” 
      ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 พบประชาชนบางส่วนยังขาดความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง โดยเฉพาะ "ความเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ซึ่งรวมถึงโควิด-19 ด้วย" มีการเข้าถึงยาปฏิชีวนะจากช่องทางที่ไม่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น ทั้งกระบวนการแจกจ่ายยาปฏิชีวนะของคนในชุมชน และร้านขายของชำที่ลักลอบจำหน่ายยาปฏิชีวนะอย่างผิดกฎหมาย ทำให้การรณรงค์เรื่องอันตรายของเชื้อดื้อยานั้นยากและซับซ้อน กพย. จึงร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย เร่งขยายความร่วมมือกับเครือข่ายภาควิชาการ และภาคประชาสังคม โดยร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดประชาพิจารณ์ร่างประเด็นยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาจุลชีพประเทศไทย ระยะที่ 2
        ซึ่งปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาระดับโลก มีการคาดการณ์ว่าหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ในปี 2593 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาถึง 10 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียถึง 4.7 ล้านคน
      ยาปฏิชีวนะจะได้ผลดีกับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น" และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ยังเพิ่มความเสี่ยงของการดื้อยาปฏิชีวนะซึ่งทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงแม้จะมีเพียงอาการไม่รุนแรง "ยาปฏิชีวนะไม่ได้ใช้รักษาหรือป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส รวมทั้งโรคโควิด-19 ด้วย" ผู้ป่วยโควิด-19 บางคนอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ในกรณีนี้ ทีมแพทย์ผู้รักษาอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อของแบคทีเรียในผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย
 
ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!