นโยบายและแผน
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น ๑. นโยบายด้านการเมือง (๑) เทิดทูน และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (๒) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชน (๓) สร้างความสัมพันธ์อันดี ร่วมมือ ร่วมใจ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ในการพัฒนาท้องถิ่นให้บรรลุวัตถุประสงค์และ บังเกิดความผาสุกแก่ประชาชน ๒. นโยบายด้านการบริหารจัดการ (๑) บริหารงานภายใต้การมีส่วนร่วม “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา” คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญมีการบริหารจัดการ โดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี ส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ทำงานยึดหลักความถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับมีความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน (๒) ส่งเสริม ปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติหน้าที่อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศในการบริการประชาชน รวมทั้งการจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีขวัญกำลังใจและการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๓) บริหารจัดการให้มีอาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างพอเพียงต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ และภารกิจในการ จัดระบบการบริการสาธารณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วต่อเนื่องและบังเกิดผลดีต่อประชาชน (๔) ปรับปรุงและพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถจัดเก็บภาษีให้ทั่วถึง ถูกต้อง รัดกุม ให้เป็นธรรมมากที่สุด ในรูปแบบการปรับปรุงแหล่งรายได้ วิธีการหารายได้ หรือวิธีการจัดเก็บรายได้ โดยใช้แผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สินเป็นหลัก (๕) เสริมสร้างค่านิยมที่ดีงามให้แก่บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ยึดถือ และปฏิบัติ ทั้งนี้ตามหลักการ และแนวทาง ในประมวลจริยธรรมของข้าราชการ ๓. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม ๓.๑ ด้านสังคมสงเคราะห์และสาธารณสุข (๑) ส่งเสริมและดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี เยาวชนผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยรับผิดชอบ การบริหารงานด้านสวัสดิการชุมชนให้กับประชาชน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยผู้ด้อยโอกาส เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์ ฯลฯ (๒) ส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมถึงการป้องกัน และควบคุมโรคให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง (๓) ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในวัยต่าง ๆ อย่างทั่วถึง โดยเข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี (๔) จัดให้มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๕) พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณ (๖) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและสามารถให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง โดยจัดให้มีศูนย์สาธารณสุขชุมชนที่ได้มาตรฐาน ๓.๒ ด้านการศึกษาและกีฬา (๑) การพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก- ก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ (๒) การบริหารและจัดการศึกษาของท้องถิ่นในอนาคต ให้สอดคล้องกับระบบการจัดการศึกษาของชาติโดยการศึกษาข้อมูล เตรียมความพร้อมในการรับการถ่ายโอนการจัดการศึกษาจากรัฐและดำเนินการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ (๓) สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้กับโรงเรียนในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในกลุ่มเป้าหมายตามนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา และสอดคล้องกับหลักสูตรการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเน้นให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้อิสระในการ บริหารงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา (๔) สนับสนุนให้ประชาชนที่พ้นวัยเรียนได้รับการศึกษานอกระบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพของท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการ และอาชีพต่าง ๆ จากบุคลากร นักวิชาการ ผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง และทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน ตำราเรียน (๕) ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุง ลานกีฬาสถานที่ออกกำลังกาย ให้มีมาตรฐานและเพียงพอกับความต้องการของประชาชน (๖) จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านการจัดการ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ให้มากขึ้น (๗) จัดให้มีการรณรงค์และการเผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน ประชาชนรักการกีฬาการออกกำลังกาย และ การนันทนาการอย่างต่อเนื่อง (๘) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างบ้าน สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ๓.๓ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี (๑) สนับสนุนส่งเสริม และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่มีคุณค่าของท้องถิ่น โดยการจัดกิจกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรม การละเล่น ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่ ให้แพร่หลายกลายเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไปอย่างทั่วถึง (๒) ส่งเสริมการดำเนินการของสภาวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุน เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ให้แพร่หลาย ให้คงอยู่เป็นมรดกสืบทอดไปสู่คนรุ่นหลัง ในรูปแบบการสนับสนุนด้านการดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน ของภาครัฐ หรือเอกชน (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยของท้องถิ่น ให้แพร่หลายในเด็กเยาวชน และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบการจัดกิจกรรม นิทรรศการ ภูมิปัญญาไทยท้องถิ่น ๔. นโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยจะเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน โดยยึดหลักความพอเพียง และส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชน ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัว การรวมกลุ่มของชุมชน ให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพที่มี ในรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้าน (๒) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา เสนอแนะ รับฟังปัญหาในการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับ (๓) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน โดยเฉพาะการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้ให้แก่ประชาชน (๔) จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ การจัดการ การตลาด ให้ประชาชนในท้องถิ่นในรูปแบบการฝึกอบรม การสัมมนา การจัดทัศนศึกษาดูงานด้านการอาชีพทั้งโดยตรงจากบุคคลากรนักวิชาการผู้มีความรู้และประสบการณ์ ๕. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะพัฒนาตำบลหินเหล็กไฟให้เป็นตำบลน่าอยู่ โดยพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ จัดระบบกำจัดขยะมูลฝอยระบบบำบัดน้ำเสีย (๑) ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์ร่วมกับชุมชน โดยสนับสนุนและเร่งรัดให้มีการปลูกต้นไม้ และ รักษาความสะอาดสองข้างทางหลวงที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ รณรงค์กำจัดสิ่งปฏิกูล อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง รณรงค์กำจัดและควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ของประชาชน (๒) ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้แก่ เยาวชน ประชาชน ชุมชน องค์กรในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดย สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ประชาชน ชุมชน องค์กรในท้องถิ่นทุกระดับ ในการเชื่อมโยงและประสานเครือข่ายกับภาครัฐ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอชุมชน (๓) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้พลังงานทดแทนและฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม (๔) สนับสนุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อระบบการจัดการมลพิษหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (๕) พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชนองค์กรในท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันดูและ พิทักษ์ เฝ้าระวังและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น (๖) ส่งเสริมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรลดการใช้สารเคมี ๖. นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (๑) พัฒนาและปรับปรุง ขยายระบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ อาทิ การขยายเขตไฟฟ้า ขยายเขตประปาให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งมีแผนบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค โดยรวม (๒) พัฒนาและปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนหินเหล็กไฟ ให้สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล (๓) ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ตามความจำเป็นที่เร่งด่วน ตามอำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ ๗. นโยบายด้านการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (๑) ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะพัฒนาด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย และเพียงพอพร้อมใช้งานป้องกันภัย ได้ตลอดเวลา (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ทางภาครัฐและเอกชน เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (๓) จัดทำแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟเป็นประจำทุกปี ให้สอดคล้องกับความเจริญของ องค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังสามารถประสานการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๔) จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน แผนป้องกันอัคคีภัย และแผนอื่นๆ ที่มีความจำเป็นตามความเหมาะสม ตามกำลังความสามารถด้านงบประมาณเป็นประจำทุกปีนโยบาย ทั้ง ๗ ประการที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน และเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน ในตำบลหินเหล็กไฟ ซึ่งนโยบายใดที่ผู้บริหารฯ เดิมได้เคยดำเนินการและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยรวมจะดำเนินการต่อยอดและพัฒนาเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินงานในแต่ละภารกิจ / โครงการสามารถขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ทั้ง ๗ ประการ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากขาดซึ่งกลไกที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน ที่จะต้องช่วยกันเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง
|